"center ระบบรับส่งผู้โดยสารพบแพทย์"
"center ระบบรับส่งผู้โดยสารพบแพทย์"
วันที่ 23 กพ.67 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา นัดภาคีเครือข่ายหารือต่อเนื่องเพื่อร่วมแก้ปัญหาการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย รอบนี้มีเครือข่ายประกอบด้วยขนส่งจังหวัด สปสช.เขต 12 พมจ. ผอ.รพ.สะบ้าย้อย กสม.ภาคใต้ บ.พิธานพาณิชย์ ม.อ./คณะแพทย์ คณะพยาบาล บ.inet สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลาเข้าร่วม
นางฐิตารีย์ เชื้อพราหมณ์ รักษาการผอ.กองสาธารณสุข อบจ.กล่าวว่า ได้เห็นปัญหาการรับส่งผู้ป่วยมาระยะหนึ่งแล้ว จึงมีความพยายามแก้ปัญหา เบื้องต้นประสานขนส่งจัดหารถแต่ก็อยากหาข้อสรุปเสียก่อนว่าจริงๆแล้วปัญหาอยู่ตรงไหน
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ บอกเล่าประสบการณ์จัดรถตู้ลดความเหลื่อมล้ำ ที่เริ่มบริการมาตั้งแต่ 5 มกราคม ว่าเห็นปัญหาผู้ป่วยที่ต้องเดินทางไปรพ.สงขลา ต้องแบกรับภาระค่ารถจ้างเหมาสูงลิ่ว จึงหาทางช่วย พบว่ารพ.มีระเบียบเงินบำรุงที่สามารถนำรถตู้ออกมารับส่งผู้ป่วยทั้งไป-กลับ พร้อมกับใช้รถร่วมกับงานอื่นๆอาทิ ส่งเจ้าหน้าที่ไปประชุม ส่งแลป ฯลฯ จึงได้วางระบบด้วยการให้พยาบาล ณ จุดรับส่งคอยประสานงาน นัดหมายผู้ป่วย มาลงทะเบียนที่มีการประชาสัมพันธ์แจกใบปลิวและแผ่นพับในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน/ผญ. รวมถึงสื่อสารผ่านไลน์ไปยังกลุ่มต่างๆ อาศัยรถตู้ 1 คัน คนขับหมุนเวียนกันไป และเก็บค่าโดยสารไปกลับเพียง 150 บาท
เดือนมกราคม ค่าบริการ 16,050 บาท ค่าน้ำมัน 14,400 บาท ผู้รับบริการเฉลี่ย 5.94 คน/วัน
ที่ประชุมร่วมให้ข้อเสนอแนะ มีแนวทางดังนี้
1.จัดบริการให้กับกลุ่มเปราะบางในกลุ่มเฉพาะบางกลุ่มที่มีความลำบากยากจนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยอาศัยสิทธิประโยชน์ที่ภาครัฐสามารถบริการให้ได้ อาทิ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง
-พมจ.มีเงินสงเคราะห์คนยากไร้ที่พึ่ง 3000 บาท ใช้บริการได้ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี สามารถใช้ช่องนี้อำนวยความสะดวก และร่วมกับอปท.ที่มีการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ออกประกาศกลุ่มเปราะบางดังกล่าว จัดรถที่มิใช่ของเจ้าหน้าที่หรือของหน่วยงานรับส่ง อปท.เบิกจ่ายได้ กม.ละ 4 บาท/คัน
-กองทุนฟื้นฟูฯและอบจ.จัดบริการรถ 4 มุมเมือง คำนวณค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ออกประกาศกลุ่มเป้าหมายที่รับบริการ
-รถ EMS ของอบจ.ที่ครบอายุการใช้งาน นำมาจัดบริการรับส่งคนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้เสียชีวิต
2.บริการให้กับผู้โดยสารที่ต้องการพบแพทย์ ณ โรงพยาบาลต่างๆ กรณีนี้ผู้โดยสารจ่ายเงินตามอัตตราค่าโดยสารปกติ ผ่านช่องทางบริการ
1)เอกชน ทางบ.iNet ร่วมกับชมรมรถตุ๊กๆได้พัฒนาแอพ go songkhla มาบริการนักท่องเที่ยว จะเปิดกลุ่มเป้าหมายใหม่และรับสมัครรถ/คนขับต่อไป ระบบแอพฯจะอำนวยความสะดวกในการเรียกและใช้บริการ
2)รถบริการสาธารณะ ที่เป็นรถประจำทาง (วิ่งในเขตเทศบาล/รถบัส/รถขนส่งภายในจังหวัด) รวมถึงรถไม่ประจำทาง ที่เป็นการจ้างเหมา
3)รถของหน่วยบริการ เช่น รถตู้โรงพยาบาล
ทั้งนี้อบจ.และเครือข่ายจะพัฒนาระบบ center ประสานงานระหว่างผู้โดยสารกับรถบริการ โดยบ.iNet มาช่วยวางระบบ และเปิดรับผู้โดยสารที่สมัครใจร่วมใช้บริการเท่านั้น จึงจำเป็นที่จะต้องสื่อสารไปถึงผู้รับบริการ(มีการวางระบบประสานงานผ่าน platform ใหม่ อาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็น-ไม่เกี่ยวกับโรค/หมอ)การจัดระบบรับส่งเช่นนี้ เป้าหมายเพื่อประโยชน์ของผู้โดยสาร ลดภาระการใช้บริการตามสิทธิที่พึงมีเป็นสำคัญ ไม่เน้นการหาประโยชน์และเป็นการปรับระบบการรับส่งผู้ป่วยไปในเวลาเดียวกัน
เบื้องต้นให้นำร่องในพื้นที่ห่างไกล ร่วมกับรพ.สะบ้าย้อย/ระโนด และในเขตเมือง ร่วมกับรพ.หาดใหญ่
ทางบริษัทพิธานจะเข้ามาหนุนช่วยในการบำรุงรักษารถบริการโดยเฉพาะของอปท./หน่วยบริการ รวมถึง csr หางบมาเสริมกองทุนร่วมจ่ายอีกด้วย
เอกสารดาวน์โหลด
ลำดับ | ชื่อไฟล์ | ขนาดไฟล์ | ดาวน์โหลด |
---|