กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา, Smile service for all Songkhla, โทร. 074-890971 ต่อ 351 , 063-0799544

เกี่ยวกับเรา

Smile service for all Songkhla
image

ความเป็นมาและกรอบแนวคิด

กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา

นับแต่รัฐบาลประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ เพื่อรับรองสิทธิของประชาชนตามมาตรา ๕๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ และตามมาตรา ๕๑ ฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐ ที่บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” และ “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ” ประกอบกับหมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา ๘๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ และมาตรา ๘๐ ฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐ ที่กำหนดให้ “รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสาธารณสุข ดังนี้ (๒) ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและจัดบริการสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามมาตรฐาน ๔๗ ที่บัญญัติว่า “เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชน เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพ้นที่โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน “คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๘(๘) ประกอบมาตรา ๔๗ กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัด เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันสุขภาพด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับบุคคลในพื้นที่ได้อย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพ โดยวางหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ๒ ประการ ดังนี้

๑) ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังกวัด (อบจ.) ที่มีความพร้อมจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัด โดยการสนับสนุนงบประจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่วนหนึ่งสมทบกับเงินงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอีกส่วนหนึ่ง


๒) กำหนดให้มี “คณะกรรมการ” ที่มีองค์ประกอบของ ผู้แทนจาก อบจ. อบต. เทศบาล ผู้แทนจากหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนจากหน่วยบริการ ผู้แทนจากผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนจากกลุ่ม / องค์กร / ชมรมภาคประชาชนผู้พิการ / ผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันเป็นคณะกรรมการที่มีอำนาจบริหารจัดการกองทุนฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการแก้ปัญหาให้กับกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ

แผนยุทธศาสตร์

arrow
icon 01

ยุทธศาสตร์ที่ 1

ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพและอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่ได้มาตรฐานตามความจำเป็น

arrow
icon 02

ยุทธศาสตร์ที่ 2

พัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชนอย่างมีคุณภาพครอบคลุมทุกพื้นที่

arrow
icon 03

ยุทธศาสตร์ที่ 3

เสริมสร้างความเข้มแข็งและบูรณาการความร่วมมือขององค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายหลัก

arrow
icon 04

ยุทธศาสตร์ที่ 4

สนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อม พื้นที่สาธารณะและที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตประจำวัน