"รถเติมสุข อำเภอควนเนียง"
วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๘ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด อบจ.สงขลา นำโดย นางฐิตารีย์ เชื้อพราหมณ์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองสาธารณสุข อบจ.สงขลา
นัดประชุมภาคีเครือข่ายในพื้นที่อำเภอควนเนียงเพื่อพัฒนาระบบรับส่งรถสาธารณะส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์ "รถเติมสุข" ณ ห้องประชุมรพ.ควนเนียง โดยมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายเข้าร่วม ได้แก่ สปสช.เขต ๑๒ สสจ. สสอ. พมจ. สนง.ขนส่งจังหวัด คณะวิศว.ม.อ. รพ.ควนเนียง รพ.สต.ในพื้นที่อำเภอควนเนียง ทต.ควนเนียง ทต.บางเหรียง อบต.ควนโส อบต.ห้วยลึก อบต.รัตภูมิ สมัชชาสุขภาพจังหวัด/มูลนิธิชุมชนสงขลา กขป.เขต ๑๒
ทั้งนี้อบจ.ต่อยอดจากฐานงาน การแพทย์ฉุกเฉิน ที่มี ๑๖๖๙ เป็น center ประสานงาน ปัจจุบันมีรถ EMS ให้กับอปท.ในพื้นท่ี่จำนวน ๘๓ คัน และมีรถที่มีอายุเกินใช้งานคือ ๑๒ ปีอีกจำนวนหนึ่งที่ถูกปรับมาใช้สำหรับบริการรับส่งผู้ป่วยปกติ
โดยกล่มเป้าหมายหลักที่จะดำเนินการผ่านกองทุนสุขภาพตำบลได้แก่ กลุ่มผู้ป่วย IMC,ผู้ป่วยมะเร็ง/ไต และโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มที่มีความยากลำบากในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ตามประกาศของสปสช. และนำร่องใน ๔ อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอควนเนียง นาทวี เทพา สะบ้าย้อย
มีข้อสรุปการดำเนินงานร่วมกันดังนี้
1.ต้นทุนการดำเนินงาน อำเภอควนเนียง มีรถ EMS ที่ทต.บางเหรียง 1 คัน มีรถเกินอายุใช้งาน 1 คัน และอบต.รัตภูมิ มีรถ EMSเกินอายุใช้งาน 1 คัน ผู้ป่วยที่มีการ refer ปี 67 ใช้บริการถที่มีในพื้นที่คือ รพ.อำเภอ 1,070 ราย และเดินทางไปรพ.ด้วยตนเอง 3,037 ราย
2.อบจ.ยกร่างหลักเกณฑ์ในการนำเงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดมาเสริมหนุนให้กับกองทุนตำบลที่เกินศักยภาพ ให้กับกลุ่มผู้ป่วยที่เน้นคนที่เปราะบาง ยากจน ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตามประกาศของสปสช.และเพิ่มหลักเกณฑ์
1)มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบุตคลที่ผู้นำท้องถิ่น/ท้องที่/ภาครัฐรับรอง(กรณีรายใหม่หรือตกหล่น)
2)ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ
3)เป็นผู้ป่วยที่ต้องการรักษาทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง
4)กรณีเป็นคนตามทะเบียนราษฏร์ในตำบลให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กองทุนสุขภาพตำบลกำหนด ส่วนกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดดูแลผู้ที่พำนักในจังหวัดสงขลา
5)นอกจากผู้ป่วยแล้ว กองทุนจะดูแลค่าใช้จ่ายให้กับญาติเพิ่มอีก 1 คน
โดยรพ.ควนเนียง รพ.สต. และอปท.ร่วมกันพิจารณาข้อมูลในภาพรวมของอำเภอ พร้อมคัดกรองกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว พร้อมประกาศรายชื่อ กำหนดวงเงินที่จะช่วยเหลือดูแล หากเกินศักยภาพให้ขอการสนับสนุนผ่านทางอำเภอ(พชอ.หรือกลไกอื่น)ไปยังกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด
และปรับระบบบริการเพื่ออำนวยความสะดวกของผู้ป่วย อาทิ นัดหมายพบแพทย์ตามกลุ่มโรคในวันเดียวกัน รวมถึงการติดตามผู้ป่วยที่ขาดนัด กระตุ้นการพบแพทย์เข้าถึงบริการเพื่อลดกลุ่มป่วยในอนาคต
3.จัดระบบรถบริการในพื้นที่ โดยมี center ระดับอำเภอที่จะช่วยดูภาพรวม หลังจากทีมในพื้นที่ดูข้อมูลร่วมกันและเห็นจำนวนกลุ่มเป้าหมาย นำข้อมูลมาจากจัดระบบบริการ กรณี Refer in ที่จะไปพบแพทย์ ณ รพ.ควนเนียงหรือรพ.บางกล่ำ มี 2 ทางเลือก คือ ใช้รถของอปท. หรือใช้รถของภาคเอกชน(มีรถใช้ EV และรถภาคเอกชนอื่น) เน้นรถรับจ้างไม่ประจำทางป้ายเหลืองให้ถูกต้องการกฏหมาย กรณีรถเอกชนจะคอยบริการในภาพรวมอำเภอ ในรูปแบบจ้างเหมาบริการตามวงเงินที่สปสช.กำหนด ดำเนินการผ่านโครงการไปยังกองทุนสุขภาพตำบล จำแนกเส้นทางเป็น 2 โซน ไปเสริมกับรถของอปท.คือบางเหรียงและรัตภูมิ โดยมีอบต.ห้วยลึกและควนโสเป็นอีกโซน
ส่วนกลุ่ม Refer out ไปพบแพทย์เฉพาะทางตามนัด ณ รพ.ศูนย์หรือรพ.เฉพาะทาง เน้นรถรับจ้างไม่ประจำทางป้ายเหลือง รถ EV
การจ่ายค่าบริการ มี 3 รูปแบบ คือ 1)กองทุนรัฐจ่าย 100% กรณีนี้ดำเนินการร่วมกันระหว่างกองทุนสุขภาพตำบล กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด กรณีเดินทางข้ามอำเภอ หรือในอำเภอเดียวกัน มีหลายอปท.ที่เป็นทางผ่าน สามารถจัดสรรค่าใช้จ่ายตามเส้นทางร่วมกัน เบิกจ่ายตามเส้นทางที่รับผิดชอบ 2)ประชาชนจ่ายเอง 100% 3)ประชาชนร่วมแชร์ค่าใช้จ่าย กรณีไปรถคันเดียวกัน
4.อบจ.จัดทำหลักเกณฑ์พร้อมแบบฟอร์ม ประสานอปท.ดำเนินการ รวมถึงประสานข้อมูลจากรพ.อำเภอ รพ.ศูนย์ นำเข้า Platform กลางที่ม.อ.กำลังพัฒนา เพื่อสนับสนุนการบริการให้กับอปท. อำนวยความสะดวกในการจัดทำโครงการ การนัดหมาย และรายงานผลการบริการ ซึ่งอนาคตจะมี Admin ทำงานร่วมกันจากรพ.อำเภอ 1 คน จากอปท.ๆละ 2 คน คือ สำนักปลัด/กองสาธารณสุข 1 คน และผู้บริหารกองทุนสุขภาพตำบล 1 คน
เอกสารดาวน์โหลด
ลำดับ | ชื่อไฟล์ | ขนาดไฟล์ | ดาวน์โหลด |
---|