กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา, Smile service for all Songkhla, โทร. 074-890971 ต่อ 351 , 063-0799544

ข่าวประชาสัมพันธ์

"รถเติมสุข อำเภอเทพา"

วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๘ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด อบจ.สงขลา นำโดย นางฐิตารีย์ เชื้อพราหมณ์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองสาธารณสุข อบจ.สงขลา 

        ร่วมพัฒนาระบบรถสาธารณะรับส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์อำเภอเทพาโดยมีกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด อบจ.เป็นเจ้าภาพนัดหมายหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่จำนวน 36 คน ประกอบด้วย ทีมงานกองทุนฟื้นฟู, สจ. ทีมรพ.เทพา สสอ. ผู้แทนอปท.และรพ.สต.ในพื้นที่ 8 ตำบล กขป.12 สปสช.12 สมัชชาสุขภาพจังหวัดเข้าร่วม ณ ห้องประชุม รพ.เทพา อ.เทพา จังหวัดสงขลา

นางฐิตารีย์ เชื้อพราหมณ์ รักษาการผอ.กองสาธารณสุข อบจ.กล่าวถึงพัฒนาการการแพทย์ฉุกเฉินที่บริการประชาชน มีรถ EMS ให้กับท้องถิ่นและรถที่เกินอายุ 12 ปีถูกปรับมาใช้บริการสาธารณะ ประกอบกับปัญหาผู้ป่วยเดินทางไปพบแพทย์ทั้งรพ.อำเภอและรพ.ศูนย์ หรือรพ.เฉพาะทาง ไม่มีรถบริการ จึงเป็นที่มาของการจัดระบบบริการ "รถเติมสุข" โดยอาศัยประกาศของสปสช.ที่ดำเนินการผ่านกองทุนสุขภาพตำบลเป็นเกณฑ์สนับสนุนผู้ป่วยที่เป็นคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ยากลำบากในการเข้าถึงระบบบริการพัฒนารถรับส่ง โดยอยจ.จัดระบบสนับสนุน ได้แก่ ศูนย์เติมสุขระดับจังหวัด มีทีมงานและระบบข้อมูลสนับสนุนการบริการ พร้อมประสานเอกชนที่มีรถ EV ป้ายเหลือง(รถรับจ้างไม่ประจำทาง)หรือรถใช้น้ำมันมาวิ่งบริการรับส่งผู้ป่วยข้ามอำเภอผ่านกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดรับผิดชอบในส่วนที่เกินศักยภาพกองทุนตำบล) และพื้นที่รับส่งผู้ป่วยไปยังรพ.อำเภอ ดำเนินการผ่านกองทุุนสุขภาพตำบล

ทั้งนี้ได้เสนอให้เน้นกลุ่มเป้าหมายที่ยากจนและยากลำบากในการเข้าถึงบริการอย่างต่อเนื่องเป็นหลัก และเพิ่มหลักเกณฑ์คือ 1.เป็นไปตามประกาศสปสช. 2.ถือบัตรสวัสดิการสังคมหรือผู้ที่ผู้นำท้องถิ่น/รัฐรับรอง 3.มีภูมิลำเนาหรือพำนักในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน 4.ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ 5.เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กองทุนสุขภาพตำบลกำหนด

โดยนำร่อง 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอควนเนียง สะบ้าย้อย เทพา นาทวี

นายสมชาย ละอองพันธ์ สปสช.เขต 12 นำเสนอข้อมูลเงินคงเหลือของกองทุนสุขภาพตำบลและเงื่อนไขการใช้ รวมถึงตอบข้อซักถามเบื้องต้น และที่ประชุมร่วมแลกเปลี่ยนมีข้อสรุปดังนี้

1.อำเภอเทพา รพ.เทพา เชิญอปท. รพ.สต อพม. มาร่วมพิจารณาจำนวนกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยคนพิการ ผู้สูงอายุโดยเฉพาะที่ป่วยโรคมะเร็ง ไต โรคเรื้อรัง ผู้ป่วย IMC และคัดกรองในส่วนของกลุ่มที่ยากจนหรือยากลำบากที่จะต้องใช้งบของรัฐดูแล ก่อนส่งต่อให้อปท.ออกประกาศพร้อมกำหนดวงเงินในการดูแล หากเกินศักยภาพของตำบลให้ประสานอำเภอ เขียนโครงการขอการสนับสนุนไปยังกองทุนฟื้นฟูฯจังหวัด

ปัจจุบันรพ.เทพา มีคนไข้ราว 1900 คน เฉลี่ย 50 คน/เดือน

2.จัดเส้นทางบริการ ในกลุ่ม refer in รับส่งผู้ป่วยจากอปท.ไปยังรพ.เทพา แต่ละตำบลกำหนดเส้นทาง จุดนัดขึ้นรถ ระยะทาง พร้อมคำนวณราคาตามประกาศหลักเกณฑ์ และ refer out รับส่งผู้ป่วยจากอปท.ไปยังรพ.ศูนย์ หรือรพ.เฉพาะทาง กำหนดเส้นทาง จุดขึ้นรถ ระยะทาง/ราคา

3.กรณี refer in อปท.ประสานรถในพื้นที่(หากมี เช่น รถบริการสาธารณะที่เป็นรถ ems อายุเกิน 12 ปี รถส่วนกลางของอปท. หรือรถของเอกชน)หรือนอกพื้นที่พร้อมองค์กร(หรือเอกชน) บริการผู้ป่วยโดยเขียนโครงการขอรับงบจากกองทุนสุขภาพตำบล จัดบริการตามจำนวนผู้ป่วย/กำหนดนัดหมายพบแพทย์ กรณี refer out ทางอบจ.จะประสานภาคเอกชนนำรถ EV หรือรถเติมน้ำมันมาสนับสนุนการบริการ

ข้อกังวลของผู้เข้าร่วม จะเป็นเรื่องเงื่อนไขการเบิกจ่าย ความสะดวกคล่องตัวในการทำงานที่ไม่เป็นภาระของเจ้าหน้าที่ รวมถึงการพิจารณากลุ่มเป้าหมายที่อาจกระทบกับกลุ่มที่ใช้บริการเดิม หรืออาจมีคนตกหล่น ไม่ครอบคลุม

การนัดหมายครั้งต่อไป ทางรพ.จะประสานอบจ.อีกครั้ง

เอกสารดาวน์โหลด

ลำดับ ชื่อไฟล์ ขนาดไฟล์ ดาวน์โหลด