"CENTER ดูแลผู้ดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยในระยะกึ่งเฉียบพลัน"
วันที่ 7 กพ.67 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลาประสานภาคีเครือข่ายประกอบด้วยศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา ศูนย์สนับสนุนการบริการสุขภาพที่ื12 สนง.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สนง.กรรมการสิทธิมนุษยชนภาคใต้ สสจ. อบจ. คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. คณะแพทย์ม.อ. มูลนิธิชุมชนสงขลา/กขป.เขต 12 หารือแนวทางความร่วมมือการพัฒนามาตรฐานผู้ดูแล บนฐานความครอบคลุมความต้องการ การเสริมหนุนการบริการ และพัฒนา center ประสานการทำงาน ณ ห้องประชุมชั้น 3 ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุจ.สงขลา
สสจ.สงขลารายงานว่า สงขลาปัจจุบันมีผู้สุงอายุ 2 แสนกว่าคนที่ผ่านการคัดกรอง 9 ด้าน มีกลุ่มติดเตียง 558 คน(HDC) การดูแลจะแยกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงที่ถูกคัดกรองโดยอสม./รพ.สต.จะส่งไปยังคลีนิคผู้สูงอายุ กลุ่มสงสัยว่าป่วยจะส่งให้พบแพทย์ยืนยัน กรณีป่วยจะเข้าสู่ระบบ LTC รวมถึงสถานชีวาภิบาล กลุ่มติดสังคมจะเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ จัดตั้งชมรมหรือโรงเรียนผู้สูงอายุ
สปสช.เขต 12 แจ้งว่าในระบบบริการ สงขลามี CM จำนวน 443 คน มี CG ราว 1700 คน ท้องถิ่น 140 แห่งเข้าระบบ LTC ครบ 100% ปัญหา CG ที่มองว่าไม่เพียงพอส่วนหนึ่งเป็นเพราะการอบรมจนผ่านหลักสูตร ท้องถิ่นหลายแห่งในช่วงนั้นยังไม่ได้เข้าระบบ LTC ทำให้CG ไม่ได้ทำบริการจึงจำเป็นต้องฟื้นฟูใหม่
มีข้อสรุปความร่วมมือดังนี้
1.การพัฒนามาตรฐานของหลักสูตร เห็นชอบให้พัฒนาหลักสูตร"สงขลา" โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมทบทวน ร่วมสร้างมาตรฐานกลาง ร่วมวิเคราะห์วิชาหลัก วิชารอง วิชาเสริม แต่ก็คงความเป็นอัตลักษณ์และความเฉพาะตัวของแต่ละหน่วยงาน โดยภาคีหลักประกอบด้วย
1.1 ศูนย์อนามัยฯ มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของระบบ LTC ประกอบด้วยอบรม CM หลักสูตร 70 ชม. และฟื้นฟูเพิ่มเติมอีก 18 ชม. ร่วมกับสสจ/สสอ. อบรม CG หลักสูตร 70 ชม. และอบรมให้จิตอาสา 420 ชม. กำลังเพิ่มหลักสูตรการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จากข้อมูลในระบบจำนวน CG ในระบบของสงขลามีเพียงพอกับการดูแลผู้ป่วย แต่ยังพบปัญหาการกระจุกตัวในบางพื้นที่ การย้ายงานและไม่ดำเนินการต่อ บางส่วนปฎิเสธงาน
1.2 ศูนย์สนับสนุนงานบริการฯ ทำหน้าที่อนุญาติ ขึ้นทะเบียนสถานประกอบการ พร้อมกับมีหลักสูตร 420 ชม. พัฒนาบุคลากรร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน วิทยาลัยชุมชน/สกร.
1.3 คณะพยาบาลศาสตร์/มูลนิธิชุมชนสงขลา ใช้ฐานงานวิจัยการดูแลผู้สูงอายุ พัฒนาหลักสูตร 120 ชม. โดยมีทฤษฏี 40 ชม. ฝึกในห้อง lab 40 ชม.และฝึกภาคสนาม 40 ชม.
1.4 คณะแพทย์ สนับสนุนการวิจัยเปรียบเทียบหลักสูตรของแต่ละหน่วยงาน
ทั้งนี้หลักสูตรดังกล่าว เริ่มต้นในงาน LTC,IMC ก่อนที่ขยายไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพในอนาคต
2.การสร้างมาตรฐานผู้ดูแล ควรมีระบบการตรวจประเมิน รับรองมาตรฐาน ควบคุมกำกับ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพเพิ่มเติมตามความต้องการของพื้นที่
2.1 ในเบื้องต้นตามกฏหมายอปท.แต่ละแห่งควรออกข้อบัญญัติมาเพื่อที่จะทำหน้าที่นี้ ควรผลักดันเป็นวาระร่วมของจังหวัด
2.2 มีการรวมข้อมูลผู้ที่ผ่านการอบรม CG,HCG,นักบริบาลฯ,ผู้ช่วยนักกายภาพ ดูความครอบคลุมเชิงพื้นที่และการปฏิบัติงาน
2.3 พัฒนาศักยภาพผู้ช่วยนักกายภาพประจำศูนย์สร้างสุขชุมชนให้กับรพ.สต.
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อบจ. ศูนย์อนามัยฯ คณะแพทย์ คณะพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล กรรมการสิทธิ์ฯ
3.การควบคุมการบริการ ควรมี center กลางพร้อมระบบที่จะควบคุม กำกับ ผ่าน Platform ใหม่ที่จะออกแบบขึ้นมารองรับ ระบบนี้จะเก็บข้อมูลโปรไฟล์ของผู้ดูแลในระบบดิจิตอล พัฒนาอุปกรณ์เพื่อบันทึกการบริการ(ตามสัญญาจ้างและรายครั้ง) การควบคุมการบริการ การประสานส่งต่อความต้องการ การออกรายงานเพื่อเก็บค่าบริการ
-ภาคเอกชน มีผู้ให้บริการ อาทิ บ.ประชารัฐฯร่วมกับคณะพยาบาล/มูลนิธิชุมชนสงขลา ผ่านPlatform IMedCare ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
-ภาครัฐ ทั้งในส่วนของระบบ LTC,IMC ที่ดำเนินการโดยรพ.สต. รพ. ศุนย์บริการสาธารณสุข รวมถึงศูนย์สร้างสุขชุมชน อบจ. และรวมถึงบุคลากรในส่วนของ CM
หน่วยงานความร่วมมือ จะมีบริษัท iNet เข้ามาช่วยวางระบบ
เอกสารดาวน์โหลด
ลำดับ | ชื่อไฟล์ | ขนาดไฟล์ | ดาวน์โหลด |
---|